สังคม » ปิดปางช้างแม่สา ตำนาน45 ปี พิษโควิด-19 เงินเลี้ยงช้างหมด จากปมปัญหาการฟ้องร้องแบ่งทรัพย์สินในหมู่เครือญาติที่หาจุดจบไม่ได้

ปิดปางช้างแม่สา ตำนาน45 ปี พิษโควิด-19 เงินเลี้ยงช้างหมด จากปมปัญหาการฟ้องร้องแบ่งทรัพย์สินในหมู่เครือญาติที่หาจุดจบไม่ได้

2 ตุลาคม 2021
556   0

Spread the love

กรณีปางช้างแม่สา หรือศูนย์อนุรักษ์ช้างแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่ก่อตั้งมายาวนานถึง 45 ปีมีช้างอยู่จำนวน71 เชือก เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันต้นของประเทศที่เคยเป็นที่่รับแขกบ้านแขกเมืองอยู่เป็นประจำ แต่ปรากฎว่าประสบผลกระทบจากโควิด-19 ไร้นักท่องเที่ยว รายได้เป็นศูนย์ ต้องใช้เงินเก่าออกมาบริหารจนเงินหมดลงประกอบกับมีปัญหาภายในกลุ่มเครือญาติมีปัญหาฟ้องร้องกันในเรื่องมรดก จนเกิดผลกระทบกับพนักงานและควาญช้างที่ไม่ได้รับเงินมาถึง 3 เดือนต้องออกมาประท้วงขอความช่วยเหลือ จนทางผู้บริหารต้องตัดสินใจปิดปางช้างแม่สาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม.นี้ แม้ว่าในเดือนตุลาคม ทางเชียงใหม่เตรียมเปิดการท่องเที่ยวแล้วก็ตามเรื่องที่เกิดขึ้นสร้างความตกใจกับผู้รักช้างและเคยเที่ยวปางช้างแม่สา ถึงการปิดตัวลงของปางช้างเก่าแก่ และที่สะเทือนใจนักอนุรักษ์ช้าง จากการขาดแคลนควาญช้าง ซึ่งช้างส่วนมากปลดโซ่ไร้ตะขอ ก็จะต้องมีการนำโซ่มาใช้สำหรับล่ามช้างอีกครั้งตาม

หลังที่ทางนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา ได้ทำการปิดปางช้างแม่สา ทำให้บรรยากาศเงียบเหงา มีป้ายข้อความ”ปิด”ทั้งภาษาไทย อังกฤษและจีน มีนักท่องเที่ยวผ่านมาหยุดอ่านกันอย่างแปลกใจ และมีการนำโซ่ที่เคยปลดออกจากช้าง เนื่องจากเปลี่ยนระบบการเลี้ยงมาเป็นแบบอนุรักษ์ไร้โซ่ไร้ตะขอ แต่เมื่อควาญช้างลาออกจำนวนมากไม่สามารถดูแลช้างได้ทั่วถึงจึงต้องนำโซ่มาล่ามไว้

ต่อมาได้มีนางแสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับรางวัลฮีโร่ ออฟเอเชีย จากนิตยสารไทม์ ได้เดินทางมาที่ปางช้างแม่สา และเข้าสวมกอดให้กำลังใจนางอัญชลี กัลมาพิจิตร พร้อมกล่าวให้กำลังใจให้ต่อสู้เพื่อช้างต่อไป และทางนางแสงเดือน ได้ทำการไลฟ์สดชีวิตความเป็นอยู่ของช้างในปางช้างแม่สาเป็นภาคภาษาอังกฤษไปทั่วโลก ได้เงินที่ผู้ใจบุญร่วมบริจาคช่วยช้างจำนวน 300,000 บาทในเบื้องต้น

นางแสงเดือน ได้กล่าวว่าตกใจมากที่ได้ทราบข่าวว่าปางช้างแม่สา ซึ่งเป็นปางช้างเก่าแก่เป็นตำนานของเชียงใหม่ต้องปิดตัวลงโดยเฉพาะในช่วงหลังจากปางช้างแม่สา ได้เปลี่ยนจากการแสดงโชว์ช้างมาเลี้ยงช้างในรูปแบบการอนุรักษ์ ได้ทำการปลดโซ่ปลดตะขอมาร่วม2 ปีแล้ว แต่เมื่อไร้ควาญช้าง หรือควาญช้างมีจำนวนน้อยก็ต้องกลับมาเลี้ยงแบบใช้โซ่เพื่อควบคุมช้างเมื่อไม่มีควาญอยู่ซึ่งเป็นภาพที่น่าสะเทือนใจมาก ซึ่งทางตนในฐานะผู้เลี้ยงช้างเช่นกันก็ต้องมาช่วยเหลือ และขอวิงวอนประชาชนผู้ใจบุญร่วมบริจาคช่วยช้างให้อยู่รอดต่อไป สำหรับตนเองและมูลนิธิฯก็ช่วยไปเบื้องต้นก่อน 300,000 บาทและจะมีแนวทางช่วยเหลือต่อไป

น สพ.รณชิต รุ่งศรี สัตวแพทย์ประจำปางช้างแม่สา ได้เผยว่าน่าเป็นห่วงมากกับการลาออกจากควาญช้าง ซึ่งหากมีควาญช้างไม่เพียงพอการควบคุมช้าง คนหนึ่งดูแล2 เชือกเป็นการยากมาก เพราะช้างบางเชือกมีความผูกพันกับควาญคนเก่า จะไม่ค่อยเชื่อฟังควาญใหม่ และในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวยิ่งน่ากลัวปางช้างแม่สามีช้างเพศผู้จำนวนมากกว่า 30 เชือก เป็นช่วงที่ช้างตกมัน การควบคุมโดยไม่ใช่ควาญของช้างเชือกนั้นจะยากลำบากมาก จึงเป็นห่วงในเรื่องนี้มาก


ด้านนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา ได้มีการพูดคุยกับควาญช้างที่เหลืออยู่ ว่าขอให้ช่วยประคองดูแลช้างไป ทางผู้บริหารพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะกอบกู้สถานการณ์ให้ดีขึ้น ด้านการบริหารยืนยันว่าไม่มีปัญหา แต่มันมีปัญหาด้านการเงินที่นำมาใช้บริหารหมดลง ตนพยายามอย่างเต็มที่ทั้งกู้แหล่งการเงินและขายบ้านของตนเองเพื่อพยายามพยุงปางช้างอยู่ให้ได้ แต่ทำเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถหาเงินมาได้จึงจำเป็นต้องปิดปางช้างเพื่อเป็นการเซฟค่าใช้จ่ายลง น่าเศร้าใจเชียงใหม่กำลังจะเปิดการท่องเที่ยว แต่เราก็ต้องปิดตัวลง ซึ่งในเรื่องที่ทุกคนมองเกี่ยวกับเรื่องปัญมรดก ซึ่งตนก็พยายามจะเคลีย์ปัญหาอย่างเต็มที่แล้ว แต่กลับมีการเรียกร้องเงินมรดกจำนวน 250 ล้านบาท และขอรีสอร์ต อีก 1 แห่ง ซึ่งทางตนไม่สามารถดำเนินการได้เพราะไม่มีเงินจริงๆจึงเกิดปัญหายาวนานขึ้นมา


นอกจากนี้ทางนางอัญชลี ได้กล่าวขอโทษช้าง ที่จะต้องนำโซ่ออกมาทำการล่ามไว้เหมือนเดิม เพราะควาญช้างลาออกไปจำนวนมากการดูแลไม่เพียงพอจึงต้องกลับมาใช้โซ่ช่วยเหลือในครั้งนี้
อย่างไรก็ตามยังมีควาญช้างชราที่อยู่คู่ปางมานานสมัยตั้งรุ่นพ่อก็คือพ่อเลี้ยงชูชาติ กัลมาพิจิตร ก่อตั้งปางช้างแม่สา มาตั้งแต่ปี 2519 จนพ่อเลี้ยงเสียชีวิตลงเมื่อปลายปี 2562 ก็คงจะอยู่ช่วยเหลือช้าง แม้ไม่ได้เงินเดือนก็ตาม