สังคม » NIA เปิดตัวสำนักงานภูมิภาคแห่งแรก พร้อมแผนยกระดับนวัตกรรมใน 11 จังหวัดภาคเหนือ มุ่งดัน ‘เชียงใหม่’ สู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาคแห่งนวัตกรรม

NIA เปิดตัวสำนักงานภูมิภาคแห่งแรก พร้อมแผนยกระดับนวัตกรรมใน 11 จังหวัดภาคเหนือ มุ่งดัน ‘เชียงใหม่’ สู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาคแห่งนวัตกรรม

14 กันยายน 2021
575   0

Spread the love

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดตัวสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกในภาคเหนือ ภายใต้ชื่อ ‘NIA Northern Regional Connect’ ตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวม 11 จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม (System Integrator) ระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับภูมิภาค โดย NIA วางแผนพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่และภูมิภาค ภายใต้กลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน (Finance) การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค (Network) และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent) พร้อมเดินหน้าต่อยอดผลักดันเชียงใหม่สู่ “จังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคภาคเหนือ” ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011%

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. คือมุ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ด้วยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน และการนำเอาองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ผนวกกับงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ และที่สำคัญต้องเน้นการพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่ในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ภูมิภาคให้เติบโตและสามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศได้

ทั้งนี้ อว. ได้มอบหมายให้ NIA เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศ ซึ่ง NIA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับนวัตกรรม และกระจายโอกาสการพัฒนานวัตกรรมในระดับภูมิภาค
จึงดำเนินการจัดตั้งสำนักงานภาคเหนือ สำหรับเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไทยในภาคเหนือ โดยจะเป็นสำนักงานส่วนหน้าที่ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน หรือกลไกการสนับสนุนทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่ รวมทั้งเป็นพื้นที่ให้ภาคีเครือข่ายนวัตกรรมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หรือจัดกิจกรรมทางนวัตกรรม และจะดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า เพื่อร่วมเป็นข้อต่อสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของ อว. ให้กับพื้นที่ต่อไป”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “หนึ่งในปัญหาหลักสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของไทยคือ การกระจุกตัวของการพัฒนาอยู่เฉพาะในเมืองหลวง เด็กจบใหม่จำนวนมากต้องย้ายถิ่นฐานมาทำงานที่กรุงเทพฯ แทนที่จะได้อยู่พัฒนาบ้านเกิดของตน ดังนั้น การจัดตั้งสำนักงานภาคเหนือ หรือ NIA Northern Regional Connect จึงเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรม และสร้างโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของย่านเมือง หรือระเบียงนวัตกรรม ให้มีความโดดเด่นก่อให้เกิดกิจกรรม และการลงทุนทางด้านนวัตกรรมต่อไป สำนักงานภาคเหนือ ถือเป็นสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกของ NIA ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ ที่มีความพร้อมสู่การเป็นเมืองนวัตกรรม เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมหลากหลาย มีสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคที่สามารถเป็นแหล่งผลิตนวัตกรได้ และมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมต่อการเป็นบ้านหลังใหม่ของดิจิทัลโนแมดและสตาร์ทอัพจากทั่วโลก โดยสำนักงานจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลไกด้านนวัตกรรมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่ สำนักงานภาคเหนือตั้งอยู่ภายในอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวมเป็น 11 จังหวัด และวางเป้าหมายว่าในปี 2569 จะมีศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นอีกใน 4 จังหวัด ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดโดยรอบทั้ง 11 จังหวัดนี้ เกิดย่านนวัตกรรมในภูมิภาคขึ้นอีก 2 แห่ง เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 3,000 อัตรา มีการเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านสังคมของตัวแทนชุมชนไม่น้อยกว่า 400 คน เกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011%”

ดร.พันธุ์อาจ อธิบายต่อว่า อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคยังมีประเด็นท้าทายอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1. การเพิ่มวิสาหกิจฐานนวัตกรรม(Innovation-based Enterprise, IBE) ที่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง “ระบบนวัตกรรม”2. การเพิ่มจำนวนนวัตกร (Innovator) ในระบบนวัตกรรมของไทยมีความเก่ง (Competency) และ ความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง 3. การใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน ทางนวัตกรรมและการเข้าถึงบริการทางนวัตกรรมในทุกภาคส่วน 4. การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระบบภูมิภาค 5.การทำให้ กฏ ระเบียบ และ นโยบาย เป็นเรื่องง่ายกับกระบวนการทางนวัตกรรม 6.การเป็นชาตินวัตกรรมที่ “คนไทย” และ “นานาชาติ” ยอมรับ และ 7.การทำให้ระบบนวัตกรรมไทย “ตอบสนอง” ต่อการเปลี่ยนแปลงโลก (Transformation Innovation System)

ซึ่ง NIA ได้มีการวางแผนแนวทางพัฒนาผ่านกลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรนวัตกรรมในพื้นที่ (Northern Innovation Thailand Alliance) เพื่อผลักดันเชียงใหม่ให้เป็นเมืองนวัตกรรมตัวอย่างของไทยและภูมิภาค ต่อไป.

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999