การศึกษา » กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั่วประเทศไทย

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั่วประเทศไทย

11 สิงหาคม 2020
805   0

Spread the love

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดทำโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา ร่วมกับ 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั่วประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานีนครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา โดยให้แต่ละจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานโดยใช้บริบทของพื้นที่เป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่  และภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดย รศ.ดร.อรรณพ พงษ์วาท ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีเชียงใหม่  เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในนามจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อดำเนิน “โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563

มีวัตถุประสงค์และการขับเคลื่อนการทำงาน 3 ด้าน คือ   พัฒนาความเข้มแข็งของกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับจังหวัด บูรณาการระหว่างหน่วยงานหลักและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2.พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผ่านการสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมายจริง ทำให้การช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมายมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ และ 3.พัฒนาระบบการสร้างตัวแบบการช่วยเหลือเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาตามบริบทของพื้นที่สอดคล้อง กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัยและเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา

มีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ  1.  เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อายุ 2-6 ปี เพื่อทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการและความพร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป 2.  เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา อายุ 2-21 ปี เพื่อทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าเรียน หรือได้รับการฝึกทักษะชีวิตหรือทักษะอาชีพที่เหมาะสม สามารถสร้างรายได้ดูแลตนเองและครอบครัวได้ 3.  พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดอปท. 8 แห่ง ให้สอดคล้องตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  พ.ศ.2561 ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองวัวแดง ม.12 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงป่าสัก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติวนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดอยหล่อ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่ากล้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่โต๋ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปู  มีพื้นที่นำร่อง จำนวน 8 อำเภอกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันทราย อำเภอสะเมิง อำเภอแม่วาง อำเภอดอยหล่อ อำเภอดอยเต่า อำเภอเชียงดาว และอำเภอไชยปราการ

การขับเคลื่อนโครงการฯ ได้มีสร้างตัวแบบมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย  ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจและงบประมาณของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ดังนี้  สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ผ่านการสำรวจคัดกรองข้อมูลและผ่านเกณฑ์เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รายละ 400 บาท/ต่อคน/ต่อภาคการศึกษา เพื่อใช้ในรายการ ดังนี้ 1.  การจัดบริการรับ-ส่ง เด็กปฐมวัยเพื่อเข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  2.  อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการเข้ารับบริการของเด็กปฐมวัย เช่น อุปกรณ์การเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน     3.  สนับสนุนการจัดบริการสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยง/ปัญหาสุขภาพ เช่น อาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการ และการติดตามเยี่ยมบ้านเป็นกรณีพิเศษ  ซึ่งจากการดำเนินงานได้ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2,187 ราย เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 1,748,800 บาท (จำนวน 2 ภาคการศึกษา)

สำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ ได้จัดสรรงบประมาณ               จำนวน 4,000/ราย  เพื่อใช้ในรายการ ดังนี้ 1.  สำหรับเตรียมความพร้อมก่อนส่งกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา การพัฒนาทักษะชีวิตหรือทักษะอาชีพ  จำนวน 1,000/คน  2.  งบประมาณสนับสนุน หน่วยจัดบริการ อาทิ สถานศึกษา กศน. หรือสถานพัฒนาทักษะอาชีพแก่เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา รายละ 3,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย  เพื่อปรับสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เหมาะสมกับการดูแลเด็กนอกระบบมิให้หลุด   ออกจากระบบการศึกษาอีกครั้ง  สนับสนุนค่าอาหาร ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่ยังไม่มีหน่วยงานอื่นใดให้การสนับสนุนแก่เด็กและเยาวชน  นอกระบบการศึกษาที่พร้อมสำหรับการศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับสถาบัน/องค์กร หรือหน่วยงานที่จะจัดให้มีการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาที่พร้อมสำหรับการพัฒนาทักษะอาชีพ

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา จะมีการนำข้อมูลมาจัดกลุ่มแบ่งตามช่วงอายุ แบ่งตามพื้นที่ และแยกตามความต้องการ เช่น ต้องการศึกษาต่อในระบบการศึกษา หรือต้องการฝึกอาชีพ โดยคณะทำงานสหวิชาชีพ  ระดับจังหวัด จะประสานงานหน่วยงานที่จัดบริการ (Service provider) ทุกภาคส่วนเพื่อรับทราบ และวางแผนลงไปช่วยเหลือ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานระดับพื้นที่ ลงไปประกบตัวเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อจัดทำข้อมูลปัญหาความต้องการเชิงลึกเพื่อจัดทำแผนช่วยเหลือรายกรณี (Care Plan) ต่อไป.

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999