หน้าแรก » ชาวไทยชม “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คึกคักทั่วประเทศ

ชาวไทยชม “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คึกคักทั่วประเทศ

22 กรกฎาคม 2020
766   0

Spread the love

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดสังเกตการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปีคืน 21 กรกฎาคม 2563 จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่งเชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา สงขลา ในรูปแบบ New Normal ประชาชนทั่วประเทศแห่ชมราชาแห่งวงแหวนกันอย่างคึกคัก ปลายปีนี้ชวนจับตาอีกปรากฏการณ์สำคัญ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เคียงกันใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ กล่าวว่า สดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 4 แห่งทั่วประเทศ ที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร .แม่ริม .เชียงใหม่ มีประชาชนมารอชมดาวเสาร์ตั้งแต่ช่วงเย็นกันอย่างคับคั่ง แม้จะมีเมฆบดบังมาเป็นระยะ แต่ในที่สุดก็สามารถสังเกตเห็นดาวเสาร์ได้ในเวลาประมาณ 20:00 . ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน ต่อแถวชมดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ สดร. จัดเตรียมไว้หลายตัว หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์จะมองเห็นวงแหวนดาวเสาร์สวยงามอีกทั้งยังสามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีสุกสว่างอยู่ใกล้ ก่อนฟ้าปิดในช่วง 21:30 . เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ในคืนดังกล่าวได้เปิดให้เข้าชมนิทรรศการดาราศาสตร์และท้องฟ้าจำลองรอบพิเศษ ตลอดจนเล่นเกมแจกของรางวัลดาราศาสตร์สุดพรีเมียม พร้อมเสียงดนตรีขับกล่อมตลอดงาน สร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้มาร่วมงานเป็นอย่างมาก

ด้านหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา สังเกตดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีได้ในช่วง 19:30 – 20:00 . ก่อนมีเมฆเข้าบดบัง และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ดาวเสาร์เริ่มปรากฏให้เห็นเวลา 20:30 . จนถึงเวลาประมาณ 21:10 . ประชาชนพากันส่องกล้องชมวงแหวนดาวเสาร์อย่างคึกคัก

ส่วนหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ทัศนวิสัยท้องฟ้าดี เริ่มสังเกตเห็นดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี เวลาประมาณ 19:30 . เป็นต้นไปจนจบกิจกรรม รวมทั้ง 4 จุดสังเกตการณ์หลักมีผู้คนให้ความสนใจร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง ซึ่ง สดร. ก็ได้ดำเนินมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดด้วยความใส่ใจในสุขภาพของผู้ร่วมงานทุกคน

ในคืนดังกล่าว ยังมีอีกหนึ่งวัตถุท้องฟ้าที่น่าติดตาม คือ ดาวหางนีโอไวส์ หรือดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หากแต่น่าเสียดายที่มีเมฆบดบังในทุกพื้นที่จึงไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากวันนี้ยังสามารถลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ได้จนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนที่ดาวหางดวงนี้จะสังเกตการณ์ได้ยากขึ้นเนื่องจากความสว่างของดาวหางจะค่อย ลดลงและมีแสงจันทร์รบกวน

หลังจากนี้ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะยังคงปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า จนกระทั่งในช่วงวันที่ 20-23 ธันวาคม 2563 ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏเคียงดาวเสาร์ ใกล้กันที่สุดในรอบ 397 ปี ห่างกันเพียง 0.1 องศา เรียก “The Great Conjunction” มองด้วยตาเปล่าเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองปรากฏอยู่ในช่องมองภาพเดียวกันอีกด้วย ถือเป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก และสดร. มีแผนจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดังกล่าว ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางwww.facebook.com/NARITPage นายศุภฤกษ์ กล่าวปิดท้าย

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999