เศรษฐกิจ » งานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ Chiang Mai Design Week ระหว่างวันที่ 2-10 ธันวาคม.จัด 9 วันเต็ม เที่ยวได้ทั่วเมือง

งานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ Chiang Mai Design Week ระหว่างวันที่ 2-10 ธันวาคม.จัด 9 วันเต็ม เที่ยวได้ทั่วเมือง

3 ธันวาคม 2023
597   0

Spread the love

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดงานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ Chiang Mai Design Week ระหว่างวันที่ 2-10 ธันวาคม นี้ ชวนนักท่องเที่ยวมาสัมผัสเชียงใหม่ในมุมที่แตกต่าง อย่างสร้างสรรค์

เมื่อวันที่2 ธ.ค. 66 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Design Week ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 2-10 ธันวาคม 2566 ภายใต้แนวคิด Transforming Local ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต เพื่อค้นหาและยกระดับความเป็นเมืองเชียงใหม่ให้ดียิ่งกว่าเดิม โดยมุ่งยกระดับศักยภาพของนักออกแบบ ศิลปิน ช่างท้องถิ่น ธุรกิจสร้างสรรค์ และชุมชนโดยรอบ สู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ผ่านสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งอาหาร งานคราฟต์ งานออกแบบ และดนตรี แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นที่เป็นจุดเด่นของเมืองเสมอมา โอกาสนี้ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมพิธีเปิดงานฯ

สำหรับเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Design Week ในปีนี้ได้จัดขึ้นต่อเนื่องตลอด 9 วันเต็ม บนพื้นที่หลักของเมือง อย่างย่านช้างม่อย-ท่าแพ, ย่านกลางเวียง (พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา-ล่ามช้างเมืองเก่าเชียงใหม่) และอีกหลายพื้นที่ทั่วเมืองเชียงใหม่ เช่น หางดง – De Siam Antiques Chiang Mai, สันกำแพง – MAIIAM Contemporary Art Museum

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมมากมายกว่า 200 กิจกรรม อาทิ นิทรรศการหัตถกรรมร่วมรุ่น(Every Day Contem), เปรี้ยวหวานจากภูเขา(Minority Market), นิทรรศการสร้าง ผ่าน ซ่อม(Persona of things) , เหนือชั้น(Upper Floor Project), Flavourscape, รวมถึง showcase & exhibition / talk & workshop / event / district / music & performance / market & promotio และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ที่อัดแน่นไปด้วยไอเดีย แรงบันดาลใจ และบรรยากาศอันสดใหม่ ที่พร้อมต้อนรับทั้งชาวไทยและต่างชาติ ให้ได้มาสัมผัสเชียงใหม่ในมุมที่แตกต่าง อย่างสร้างสรรค์

สำหรับย่านสร้างสรรค์เชียงใหม่พลิกฟื้นท้องถิ่นใน “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566”เปิดย่านสร้างสรรค์เชียงใหม่ไปกับ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” ภายใต้แนวคิด ‘TRANSFORMING LOCAL: ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ ที่จะขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 10 ธันวาคมนี้
‘ย่านช้างม่อย’ ย่านที่ผสมผสานความเก่า-ใหม่ และผู้คนต่างเจเนอเรชันถ้าพูดถึงย่านสร้างสรรค์และเป็นย่านท่องเที่ยวของเชียงใหม่แล้ว ตอนนี้ย่านที่ได้รับความสนใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ ‘ย่านช้างม่อย’ เนื่องจากย่านช้างม่อยนั้นแต่ก่อนเคยเป็นย่านการค้าหลักของเมืองเชียงใหม่แต่ด้วยวันเวลาที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ความสนใจของผู้คนก็เปลี่ยนไปตามด้วยเช่นกัน จึงทำให้อาคารบางแห่งถูกปล่อยทิ้งไว้หรือใช้เป็นสถานที่เก็บของเพียงเท่านั้น

ซึ่งในปัจจุบันนี้ย่านช้างม่อยนั้นได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เนื่องจากมีคนรุ่นใหม่ได้เล็งเห็นถึงเสน่ห์ของย่านนี้ จึงได้มีการฟื้นฟูธุรกิจต่าง ๆ ในย่านช้างม่อยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งภายใต้อาคารเก่าแก่สุดโมเดิร์นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ผสมผสานความใหม่กับความเก่าเข้าไว้ด้วยกัน โดยยังคงเสน่ห์ของตัวอาคารเดิมและเรื่องราวของชุมชนย่านช้างม่อยเอาไว้ จึงทำให้ย่านช้างม่อยนั้นเป็นที่น่าสนใจของเหล่านักสร้างสรรค์ที่จะมาสร้างไอเดียใหม่ ๆ ภายในพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นย่านที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ทิ้งรากเหง้า

#CMDW2023 พลิกฟื้นเติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์กับ 4 มุมลับ ‘ย่านช้างม่อย’เทศกาลฯ ปีนี้นำเสนอ 4 มุมลับที่น่าสนใจใน ‘ย่านช้างม่อย’ ที่ถูกเติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์ด้วย Digital Art Installations ในพื้นที่แห่งนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ผ่านเรื่องราวและแนวคิดใหม่ ๆ พบกับ 4 มุมลับที่รอให้ทุกคนได้ค้นหาแและร่วมสร้างสรรค์ไปด้วยกัน

1. ซุ้มประตูโขงวัดชมพู (Pagoda Local)Projection Mapping by Kor.Bor.Vor Visual Labelคนเชียงใหม่หลายคนอาจจะรู้ดีว่าพระธาตุหรือเจดีย์วัดชมพูในย่านช้างม่อย ถูกสร้างให้เป็นเจดีย์คู่แฝดกับพระธาตุดอยสุเทพซึ่งซุ้มประตูนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาเก่าแก่ โดยปัจจุบันมีบ้านเรือนมากมายที่สร้างขึ้นใกล้กับบริเวณวัด ทำให้บดบังซุ้มประตูนี้จึงทำให้ซุ้มประตูโขงวัดชมพูเป็นอีกหนึ่งมุมลับที่กลุ่มศิลปินมัลติมีเดียสมัยใหม่เจ้าของงานสื่อผสมแบบ Site Specific อย่าง Kor.Bor.Vor. Visual Label ตั้งใจสร้างสรรค์งาน Projection Mapping ให้สอดคล้องไปกับความสวยงามของซุ้มประตู ด้วยประติมากรรมจักสานขนาดใหญ่ที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเจดีย์มาเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่

2. สะพานแดงข้ามคลองแม่ข่า (The Connection Bridge)Projection Mapping by Kor.Bor.Vor Visual Label
อีกหนึ่งมุมลับในชุมชนช้างม่อยคือ ‘สะพานแดง’ สะพานเล็ก ๆ บนคลองแม่ข่า ที่คนในชุมชนใช้เป็นทางลัดไปยังถนนราชวงศ์มาอย่างยาวนานและเป็นครั้งแรกของเทศกาลฯ ที่จะใช้สะพานนี้เป็นอีกหนึ่งเส้นทางชมงานเพื่อให้ทุกคนได้เดินสำรวจชุมชน โดยทีมKor.Bor.Vor. Visual Label ก็ได้สร้างสรรค์ผลงาน Digital Art สร้างชีวิตชีวาให้พื้นที่รอบสะพานเปลี่ยนจาก ‘ทางผ่าน’ สู่อีกหนึ่งจุดเช็กอินเก๋ ๆ ที่ต้องไม่พลาดแวะชม

3. ห้องแถวห้าห้อง (Original Five)Projection Mapping by Kor.Bor.Vor Visual Label มุมลับต่อมา ที่ถนนราชวงศ์ ซอย 3 ‘ห้องแถวห้าห้อง’ ซึ่งเป็นตึกทรงโมเดิร์นในสมัยก่อนของย่านการค้าเก่าแก่นี้ โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงของการปรับปรุงเพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ให้สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงของย่านนี้ ซึ่งทีม Kor.Bor.Vor. Visual Label ได้ใช้ตึกห้าแถวนี้เป็นสถานที่บอกเล่าการเปลี่ยนแปลงของย่านช้างม่อยผ่านงานภาพเคลื่อนไหว ที่บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ของการค้าขายในชุมชนแบบเก่า ผ่านมุมมองภาพถ่าย ผสมเทคนิค Photo Motion

4. ธน-อาคาร (เปิ้นสานฉัน)Projection Mapping by Decide Kitปิดท้ายที่ ธน-อาคาร หนึ่งในสถานที่จัดงานไฮไลต์ของเทศกาลฯปีนี้ แต่ก่อนเคยเป็นที่ตั้งของธนาคารพาณิชย์ชื่อดัง เป็นอาคารที่มีฟาซาด (facade) ที่ผิวหน้าของอาคารมีลวดลายคล้ายรวงข้าว ซึ่งเป็นจุดเด่นของอาคารแห่งนี้และยังเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นของย่านนี้ด้วย ที่ผสมผสานกับโชว์สนุก ๆ ของกลุ่มศิลปิน Decide Kit ผู้อยู่เบื้องหลังของงาน แสง-สี-เสียง กับโปรเจ็กต์ ‘เปิ้ลสานฉัน’ ที่จะมาสร้างสรรค์เรื่องราวของงานจักสาน ซึ่งเป็นการค้าขายที่เคยรุ่งเรืองในอดีตให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง ด้วยดิจิทัลอาร์ตรูปแบบใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นแค่บางส่วนของมุมลับที่มาพร้อมกับไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากกลุ่มศิลปินสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังมีการแสดงสร้างสรรค์ที่ปลุกบรรยากาศภายในย่านช้างม่อย กับ ‘Len Yai: Performance Arts’ ผลงานคัดสรรและออกแบบการแสดงโดย
ชัยวัฒน์ โล่โชตินันท์ และโปรดิวเซอร์ อภิชัย เทียนวิไลรัตน์ ซึ่งเชื่อมผสานเหล่าศิลปิน นักแสดง และนักสร้างสรรค์หลากแขนงทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 40 ชีวิต ให้มาร่วมเปิดการแสดงแบบเฉพาะพื้นที่ (Site Specific) ตลอด 9 วันของเทศกาลฯ (วันละ 1 รอบ) ใน 8 พื้นที่ของย่านช้างม่อยและถนนราชวงศ์ เช่น การแสดงชุด ‘หลงรัก (Crush On)’ การแสดงระบำร่วมสมัยและพิณเปี๊ยะ ที่แสดงออกถึงความรักในมิติต่าง ๆ อย่างร่วมสมัย ในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 18.00 น. ณ ดาดฟ้า ตึกมัทนา และ ‘ชีวิตเลือกได้ (Choose Life)’ จากกลุ่มนักแสดงและนักสร้างสรรค์หญิงของภาคเหนือ จำนวน 15 ท่าน ที่จะมาถ่ายทอดท่าระบำในแบบฉบับของแต่ละคน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เวลา 19.00 น. ณ วัดชมพู

สุดท้ายนี้นอกจาก ‘ย่านช้างม่อย’ ที่เป็นพื้นที่หลักของการจัดงานในปีนี้แล้ว ก็ยังมี ‘ย่านกลางเวียง’ ที่พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Museum) มีเวิร์กช็อปให้ร่วมสนุกมากมาย และสายช้อปปิ้งต้องไม่พลาด Pop Market (เปิดทุกวัน 16.00 – 22.00 น.) มีทั้งงานออกแบบ สินค้าไลฟ์สไตล์ ของที่ระลึก อาหารและขนมท้องถิ่นฟิวชัน ส่วนด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ยังมีนิทรรศการและกิจกรรมสร้างสรรค์ของหอภาพถ่ายล้านนา แล้วพบกัน “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” 2 – 10 ธันวาคม 2566 นี้

 

ติดตามคว ามเคลื่อนไหวได้ที่ www.chiangmaidesignweek.com หรือ Facebook: Chiang Mai
Design Week #ChiangMaiDesignWeek2023 #CMDW2023 #TransFormingLocal

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999