เศรษฐกิจ » เวทีเศรษฐกิจเอเปค … เพิ่มโอกาสการค้าไทย ดึงดูดการลงทุนสู่ EEC

เวทีเศรษฐกิจเอเปค … เพิ่มโอกาสการค้าไทย ดึงดูดการลงทุนสู่ EEC

18 พฤศจิกายน 2022
259   0

Spread the love

ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพงานประชุมองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก : เอเปค (The Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ระหว่างวันที่ 14-19 ..65 ได้วางวาระผลักดันการเจรจาใน 3 หัวข้อสำคัญ คือ เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) ซึ่งหมายถึง การเปิดกว้างด้านการค้าและการลงทุน ความเชื่อมโยงทุกมิติทางเศรษฐกิจ อาทิ การเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ความเชื่อมโยงข้อมูลทางดิจิทัล และการส่งเสริมการเติบโตที่เน้นสร้างความสมดุลโดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน  พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายจัดทำเอกสารปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือBangkok Goals on Bio-Circular-Green (BCG) Economy เพื่อให้ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคให้การรับรอง

เอเปคเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก โดยทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรมากถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลก และมีขนาดเศรษฐกิจ (GDP) รวม 52 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 61% หรือ 2 ใน 3 ของจีดีพีโลก และมีมูลค่าการค้ารวม 24 ล้านล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 47% ของมูลค่าการค้าโลก หากไทยสามารถผลักดันแผนงานขับเคลื่อนเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia- Pacific : FTAAP) ระยะ 4 ปี (.. 2566 – 2569) ให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคพิจารณาและมีความสนใจร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบความคิดริเริ่มในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค ก็จะทำให้เอเปคขยับจากกลุ่มความร่วมมือเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งขณะนี้ไทยยังไม่มีข้อตกลงทางการค้ากับบางประเทศอาทิ สหรัฐฯ รัสเซีย แคนาดา และเม็กซิโก ดังนั้น การมุ่งสู่เขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก จึงคาดว่าจะก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนทั้งของภูมิภาคและไทยอย่างกว้างขวางในอนาคต

ประโยชน์ที่คาดว่าไทยในฐานะเจ้าภาพจะได้รับจากการประชุมเอเปค

ประการแรก บทบาทไทยในเวทีเศรษฐกิจโลก ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคครั้งนี้ จะได้แสดงศักยภาพให้นานาชาติได้เห็นถึง 1) ความพร้อมในการจัดงานระดับนานาชาติเพื่อต้อนรับผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชนจากประเทศต่างๆ 2) ศักยภาพของประเทศไทยในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก3) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนานาชาติที่มีต่อประเทศไทยในการมีจุดยืนไม่เลือกข้าง สร้างหุ้นส่วน ซึ่งประเทศไทยเชื่อว่าจะนำไปสู่การสร้างสมดุลเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคที่จะช่วยส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับเอเปคมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากหลักการรวมกลุ่มของเอเปคที่เน้นความร่วมมือในการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และการให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2564 การค้าระหว่างประเทศของไทยกับกลุ่มเอเปค มีมูลค่า 3.85 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 71.5% ของการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปเอเปค มูลค่า 1.95แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (72% ของการส่งออกรวม) และนำเข้าจากเอเปค มูลค่า 1.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (71% ของการนำเข้ารวม) สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (..-.. 2565) มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับกลุ่มเอเปค อยู่ที่ 3.14 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 68.7% ของการค้าไทยกับโลก

ประการที่สาม เอเปคสนับสนุนแนวทางภูมิภาคนิยมแบบเปิด (Open Regionalism) ซึ่งหมายถึงการให้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคด้วย จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการขยายห่วงโซ่อุปทานของไทยทั้งในและนอกภูมิภาคมากขึ้น และเพิ่มทางเลือกให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบและฐานการผลิตที่มีความหลากหลายได้มากขึ้น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมของไทยที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออกและการเป็นฐานการผลิต ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  อุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูปเนื่องจากไทยมีอุตสาหกรรมสนับสนุนและมีซัพพลายเชนแข็งแกร่ง ความน่าสนใจลงทุนในไทยในฐานะศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของอาเซียนจึงมีอยู่

ประการที่สี่ พื้นที่อีอีซีมีแนวโน้มดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น และต่อยอดให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค (Regional Hub) 5 ด้าน ได้แก่ Tech Hub ศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม, BCG Hub ศูนย์กลางการลงทุนเศรษฐกิจ BCG, Talent Hub ศูนย์รวมผู้มีศักยภาพจากทั่วโลก เช่น ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทักษะสูง, Logistics Hub ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค และ Creative Hub ศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์4.0” แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (. 2566 – 2570) ของสภาพัฒน์ฯ และยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (.. 2566 – 2570) ของบีโอไอ ได้แก่ ดิจิทัล BCG ไบโอเทค เมดิคัล สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์อัจฉริยะ รวมถึงกลุ่มสตาร์ทอัพ ทั้งนี้ เมื่อ BCG Economy Model ถูกประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติและเป็นแนวคิด(ธีม) หลักของการประชุมเอเปคครั้งนี้ ก็คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากให้ความสำคัญกับ BCG มากขึ้นและดึงคนรุ่นใหม่มาร่วมขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ใหม่ของประเทศ อีอีซีจึงน่าจะตอบโจทย์การเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง การมี SMEs ที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ และเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำ

ประการที่ห้า ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้ชูโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญภายใต้หัวข้อการสร้างสมดุลรอบด้าน (Balance.) ซึ่งประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) สอดคล้องกับกระแสโลกที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์จากการประชุมเอเปครอบนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อาทิ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจรอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ซึ่งขณะนี้มีเทรนด์ที่น่าจับตามอง คือ อาหารฟังก์ชัน อาหารนวัตกรรมใหม่ อาหารทางการแพทย์ และอาหารอินทรีย์ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจไทย ทำให้ไทยเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนที่มีระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีรองรับไว้แล้ว

ประการสุดท้าย ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาการศึกษา การคลัง วิทยาศาสตร์ ตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมคณะทำงานด้านต่างๆของเอเปค อาทิ โทรคมนาคม การขนส่ง การเกษตร การประมง การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและป่าไม้ การท่องเที่ยว การสาธารณสุข การพลังงาน และกิจการสตรี อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาความร่วมมือในสาขาต่างๆของเอเปค ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและการปรับตัวด้านต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อันจะช่วยเสริมขีดความสามารถการแข่งขันในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความผันผวนและความไม่แน่นอนสูง (VUCA) เอเปคยังมีความท้าทายที่ต้องรับมืออีกมากประการแรก ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 รวมไปถึงทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว อาจส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ เหล่านี้ อาจนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจและเป็นปัจจัยขัดขวางการลงทุนในภูมิภาคได้ ประการที่สอง หลากหลายมิติที่เอเปคยังต้องรับมือ ทั้งจากแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี 5G และชิปเซมิคอนดักเตอร์ ภาวะชะงักงันจากการหยุดการผลิตสินค้าหรือปัญหาด้านการขนส่ง ตลอดจนกระแสโลกาภิวัตน์ตีกลับ อาทิ ประเทศหลักหันมาให้ความสำคัญกับการพึ่งตนเอง การสนับสนุนการย้ายห่วงโซ่การผลิตกลับเข้าประเทศเพื่อลดความเสี่ยง เป็นต้นประการที่สาม เอเปคอยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างประเทศ ซึ่งตรงนี้เอง จุดยืนของประเทศไทยต้องมั่นคง ไม่เอนเอียงและไม่เลือกข้าง ท่ามกลางโลกแบ่งขั้วอำนาจ

ท่ามกลางวิกฤตและความเปลี่ยนแปลงต่าง ที่เกิดขึ้นในโลกและในภูมิภาค ความท้าทายในโลกยังทวีความรุนแรงและซับซ้อนยิ่งขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนา วิกฤตด้านอาหารและพลังงาน ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคครั้งนี้ จำเป็นต้องพร้อมรับมือ เร่งสร้างระบบความคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุน แก้ไขกฎระเบียบให้ทันสมัย ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนาในทุกระดับ

บทความพิเศษโดยสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999