เศรษฐกิจ » อุทยานวิทย์ฯ ร่วมกับบพข. พลิกโฉมเมืองเหนือด้วยนวัตกรรม จับมือไปรษณีย์ฯ นำร่อง 7 สหกรณ์ ยกระดับชีวิตชาวนา

อุทยานวิทย์ฯ ร่วมกับบพข. พลิกโฉมเมืองเหนือด้วยนวัตกรรม จับมือไปรษณีย์ฯ นำร่อง 7 สหกรณ์ ยกระดับชีวิตชาวนา

27 ธันวาคม 2021
658   0

Spread the love

เมื่อเร็วๆ นี้ อุทยานวิทย์ฯ ภาคเหนือ จัดพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และกลุ่มสหกรณ์การเกษตร 7 แห่ง ภายใต้โครงการลานนา 4.0 พลิกโฉมเมืองเหนือด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (LANNA 4.0 Northern Innovation Re-Profile) NSP Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) หวังนำนวัตกรรมไทยช่วยเกษตรกรไทยผ่านเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลง    ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือ UTD RF ผลงานจากคณะนักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขยายองค์ความรู้  สู่วงกว้างระดับท้องถิ่น พร้อมเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวไทยต่อยอดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว(Bio-Circular- Green Economy: BCG Economy) เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและยั่งยืน มอบเป็นของขวัญต้อนรับศักราชใหม่แก่ชุมชนและสหกรณ์ในภาคเหนือ

ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) กล่าวว่า โครงการลานนา 4.0 พลิกโฉมเมืองเหนือ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นับเป็นโครงการหนึ่งที่เครือข่ายมหาวิทยาลัยก่อตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่    (แม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ) ร่วมกันผลักดันนำผลงานจากคณะนักวิจัยไทยมาใช้ให้เกิดประประโยชน์กับผลผลิตของชุมชน ดังเช่น ข้าว ซึ่งเป็นผลผลิตหลักของคนไทย

โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินงานร่วมกับสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ โดยนำร่องกับสหกรณ์ 7 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด, สหกรณ์การเกษตรสันป่าตองจำกัด, ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดลำพูน จำกัด, สหกรณ์การเกษตรเชียงแสน จำกัด, สหกรณ์การเกษตร ห้างฉัตร จำกัด, สหกรณ์การเกษตรสว่างอารมณ์ จำกัด และ สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตหนองยายดา จำกัด ผ่านการใช้เทคโนโลยีการกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Uniform Thermal Distribution of Radio Frequency) หรือ UTD RF พร้อมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคด้วยตราสัญลักษณ์มาตรฐานคุณภาพ UTD RF ในทุกบรรจุภัณฑ์ข้าวที่ผ่านกระบวนการ ซึ่งสามารถช่วยกำจัดแมลงและไข่แมลงในข้าวสารได้โดยไม่ใช้สารเคมี

ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้าง   ตราสัญลักษณ์ สื่อสารเรื่องราวของผลผลิตข้าวแต่ละท้องถิ่นอย่างมีเอกลักษณ์ พร้อมเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านกลุ่มตลาด Modern Trade อาทิเช่น Gourmet Market, Rimping Super Market ฯลฯ ซึ่งหวังผลลัพธ์จากโครงการเกิดการเพิ่ม

มูลค่าข้าวในห่วงโซ่อุปทานกว่าร้อยละ 40 เกิดการขยายผลสู่การใช้นวัตกรรม UTD RF ในการทดแทนสารเคมีการในภาคเกษตรกรรม และเกิดเป็นแนวทางต้นแบบในการสร้างรายได้แก่เกษตรกรผ่านการเพิ่มมูลค่าสินค้าร่วมกับการใช้นวัตกรรม   ผ่านการจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปี จะมีผลผลิตข้าวที่ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ในโครงการจำนวนกว่า 420 ตัน เกิดการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ต่อปี หรือประมาณ 18,000 บาทต่อปี ผ่านกลไกการบริหารจัดการของสหกรณ์ทั้งการรับซื้อข้าวที่ราคาสูงกว่าท้องตลาด รวมถึงการปันผลประจำปีของสหกรณ์ โดยจะสมาชิกเกษตรกรจะได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 17,500 ราย

รศ.ดร.สุชาดา เวียรศิลป์ หัวหน้าคณะนักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงหลักการทำงานของเทคโนโลยีว่า เทคโนโลยีการกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Uniform Thermal Distribution of Radio Frequency, UTD RF) มีจุดเด่นคือ สามารถกำจัดแมลงได้ทุกระยะการเติบโต ตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัย โดยไม่ทำให้คุณภาพข้าวเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังปราศจากสารเคมีในกระบวนการ โดยหลักการทำงานได้ประยุกต์ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นความถี่หนึ่งซึ่งมีความสามารถในการแทรกผ่านเข้าไปในชั้นโมเลกุลภายในเมล็ดข้าวทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นจำนวนล้านๆ ครั้งในเวลาหนึ่งวินาที จึงทำให้เกิดความร้อนสูงในระยะเวลาอันสั้น โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรกระบวนการดังกล่าวแล้วตั้งแต่ 2557 รวมถึงเทคโนโลยีนี้ ยังผ่านการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย และผ่านการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก.

ด้านนายวิชชา อ้างสกุล ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 5 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวเสริมอีกว่า ไปรษณีย์ไทยยินดีที่ได้มีส่วนในการช่วยเหลือชุมชนและสหกรณ์โดยเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยจำหน่ายและจัดส่งผลิตภัณฑ์จากสหกรณ์ในโครงการสู่วงกว้างมากขึ้นผ่านบริการไปรษณีย์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ทออนไลน์https://www.thailandpostmart.com/ นับเป็นการช่วยเหลือชุมชนและสหกรณ์ต่อยอดโครงการจากต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำอย่างแท้จริง

สำหรับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยเป็นศูนย์ให้บริการนวัตกรรมครบวงจร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม พร้อมให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับภูมิภาคที่ครบครัน

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999