เศรษฐกิจ » ปางช้างแม่สา ฝ่ามรสุมผ่านร้อนหนาวมายาวนานถึง 45 ปีพร้อมฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19แม้เลือดตาแทบกระเด็น

ปางช้างแม่สา ฝ่ามรสุมผ่านร้อนหนาวมายาวนานถึง 45 ปีพร้อมฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19แม้เลือดตาแทบกระเด็น

25 พฤศจิกายน 2021
710   0

Spread the love

ปางช้างแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยพ่อเลี้ยง ชูชาติ กัลมาพิจิตร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 รวมเป็นระยะเวลา 45 ปีจนถึงปัจจุบัน โดยมีนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ทายาทคนโตเข้ามาบริหารงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท ปางช้างแม่สา จำกัด ด้วยความที่บริษัทฯเป็นเจ้าของช้างเองทุกเชือก ที่มีจำนวนกว่า 70 เชือก การบริหารงานปางช้างแม่สาเป็นการบริหารแบบเอกชน 100%

ก่อนหน้าที่จะมีปัญหาโรคไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นนั้น ปางช้างแม่สาเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆของประเทศไทย เคยได้รับมาตรฐานปางช้างประเทศไทยเป็นแห่งแรกจากกรมปศุสัตว์ และเคยได้รับมาตรฐานไอเอสโอ 2001 เวอร์ชั่น 2000 เป็นแห่งแรกของโลก รวมถึงเคยโด่งดังจากการบันทึกสถิติโลกกินเนสเวิลด์เรคคอร์ดในเรื่องรูปวาดโดยฝีมือช้างที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ( 1.5 ล้านบาท ) โดยที่ผ่านมากว่า 40 ปี ปางช้างแม่สาได้มีการแสดงช้างถึงวันละ 3 รอบ รวมถึงมีบริการการนั่งบนแหย่งช้าง และอื่นๆอีก เคยสร้างรายได้มหาศาลจากการหลั่งไหลเข้าชมปางช้างของนักท่องเที่ยวในแต่ละวัน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทำให้ปางช้างมีรายได้เพียงพอต่อการประกอบกิจการปางช้างและการเลี้ยงดูช้างจำนวนทั้งหมด

นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา ได้เผยว่าถึงสถานการณ์ ที่ต้องต่อสู้เพื่อให้สามารถก้าวเดินต่อไปได้ในห้วงต้องผจญกับสถานการณ์โควิด -19 ที่โหดร้ายส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงช้างและบริหารคน ว่า แต่ในปัจจุบันเราได้ลดขนาดองค์กรลงจนเหลือพนักงานทั้งหมดแค่ 108 คน (จาก 330 คน) แต่เรายังคงมีจำนวนช้างที่ต้องเลี้ยงมากถึง 70 เชือก และเรามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่สูงถึงประมาณ 2.5 ล้านบาท แม้ว่าจะลดขนาดลงอย่างเต็มที่แล้ว

การบริหารงานในช่วงที่มีการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาเป็นเวลาประมาณสองปีนั้น เราต้องใช้เงินของบริษัทฯไปจนหมด และยังต้องกู้เงินธนาคารมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมแล้วกว่า 50 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูช้างด้วยหญ้าสดวันละ 9-10 ตันทุกวัน รวมถึงอาหารเสริม ประเภทข้าวเหนียวนึ่ง อาหารเม็ดของซีพี ผลไม้ กล้วยอ้อย ยาสมุนไพร ยารักษาโรค เวชภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน, คนเลี้ยงช้าง(ควาญช้าง) และนายสัตวแพทย์ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆของบริษัทฯอีกมากมาย

ผลกระทบของโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้ปางช้างแม่สาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของปางช้างใหม่เป็นแบบนิวนอมอล เพื่อป้องกันการระบาดของโรค โดยได้ประกาศยกเลิกการแสดงช้าง รวมถึงยกเลิกการนั่งช้างบนแหย่งช้าง, การนั่งช้างทุกประเภทและหันมาเริ่มต้นปลดโซ่ช้าง ให้อิสรภาพช้าง เลี้ยงช้างแบบเข้าฝูง เลี้ยงช้างแบบมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น ช้างมีเวลาและมีความสุขสบายมากขึ้น

ในส่วนของสถานที่เราก็ลดขนาดของปางช้างลง และนโยบายที่สำคัญที่สุดของการบริหารงานแบบนิวนอมอล คือการเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมช้างฟรี ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ และการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้

ปัญหานี้เองที่ทำให้ปางช้างแม่สาต้องหันไปเน้นประชาสัมพันธ์ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มมากขึ้น การเข้าชมฟรี สร้างรายได้เป็นศูนย์ในเรื่องค่าเข้าชม ปางช้างแม่สามีรายได้เพียงการจำหน่ายตะกร้าผลไม้ กล้วยอ้อยในราคาตะกร้าละ 100 บาท ซึ่งก็ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละเดือน จำนวน 2.5 ล้านบาทเราจึงต้องหาวิธีในการลดค่าให้จ่ายลงให้มากที่สุด และสิ่งที่เราค้นพบสิ่งหนึ่ง คือการแบ่งพื้นที่เลี้ยงช้างมาทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักเลี้ยงคน และปลูกข้าวเหนียวเลี้ยงช้าง

ปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ที่เราได้ทำนา ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง จำนวนกว่า 10 ไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีความปลอดภัยต่อช้างเลี้ยงของเรา และข้าวนั้นสามารถเก็บเกี่ยว นำไปนวด นำไปสีให้ได้ปริมาณข้าวเหนียวที่นำไปนึ่งให้ช้างกินได้หลายเดือน ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้หลักแสนบาท โดยกิจกรรมที่โดดเด่นของเราคือการนำช้างมามีส่วนร่วมกับทีมงาน นับตั้งแต่เริ่มลงนาปลูกข้าว จนถึงวันที่จะทำการนวดข้าว เราให้ช้างที่ไม่มีงานทำ หรือช้างตกงานของเรา ได้ช่วยกันขนข้าวมายังลานนวด และในการนวด เรายังให้ช้างได้ย่ำไปบนข้าวเพื่อน้ำหนักตัวช้างจะกดลงไป ทำให้ข้าวหลุดจากรวงและร่วงลงสู่ด้านล่าง จากนั้นเราสามารถเก็บข้าวเปลือก นำไปตำ หรือนำไปสีต่อได้

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมในวันที่ 25 พฤศจิกายน 64 คือการเล็งเห็นถึงสามัคคีของทั้งคนและช้าง ให้เห็นว่าช้างสามารถช่วยงานเราในส่วนที่เขาพอจะทำได้ และเกิดประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น ที่อำเภออมก๋อย เขาก็นำช้างไปช่วยไถนา ทำให้งานไถนานั้นเสร็จเร็วขึ้น เพราะหนึ่งแรงช้างเท่ากับ 3-4 แรงควายช้างไทยในวันนี้ยังคงเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ ที่ถูกผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 และพิษของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ทำให้ช้างทั่วประเทศพากันตกงาน ไม่มีรายได้ อยู่อย่างอดอยาก ป่วยมากขึ้น และล้มตายมากขึ้น

เราอยากให้รัฐบาลและคนไทยทุกคนหันมาให้ความสำคัญ เล็งเห็นถึงปัญหาและเข้าใจปัญหาของช้างเหล่านั้น เราจะช่วยเหลือช้างอย่างไรให้ช้างไทยอยู่รอดไปได้นานที่สุด เราทุกคนควรหันหน้ามาร่วมกันแก้ไขและสานต่องานอนุรักษ์ช้างไทยอย่างเป็นรูปธรรมไปด้วยกันให้เร็วที่สุด ในขณะที่ปัญหาการท่องเที่ยวยังไม่เสถียร และคงต้องใช้เวลาอีกนานมาก

Diva4d Toto Online Diva4d sekawanbet Taruh4d Daftar dodoslot kerasbola kerasbola
Dodoslot Kerasbola
bewin999 toto macau tt4d scobet999 gwin4d bewin999 gwin4d tt4d gwin4d slot demo link bewin999 slot terbaru bewin999 slot terbaru bewin999